ฟันคุด คือฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก โดยอาจจะขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็ได้ ปกติแล้วมักจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี ซึ่งนอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็มีสิทธิเกิดเป็นฟันคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย แต่ก็พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้ายอยู่ดี
โดยสาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องผ่าหรือถอนฟันคุดออก มีดังนี้
อาการเจ็บปวดที่เกิดจากแรงดันบริเวณขากรรไกร อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยบางรายมีรากฟันคุดยาว จนไปกดหรือเกี่ยวคลองประสาทและเส้นเลือดที่อยู่ในขากรรไกรนั้น ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทและเส้นเลือด การอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอาจทำให้เหงือกอักเสบ ปวด บวม จนเป็นหนองและมีกลิ่น ฟันข้างเคียงผุ เนื่องจากบริเวณระหว่างฟันคุดกับฟันข้างเคียงนั้น ทำความสะอาดได้ยากพอสมควร โดยเศษอาหารที่ติดค้างอยู่สามารถทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่ ในบางรายที่เกิดฟันผุซ้ำ อาจถึงขั้นที่ต้องเอาฟันทั้ง 2 ซี่นี้ออก การละลายตัวของกระดูก ในรายที่ฟันข้างเคียงยังไม่ผุ การผ่าฟันคุดที่ล่าช้าเกินไปอาจทำให้กระดูกหุ้มรากฟันและรากฟันซี่ข้างเคียงถูกทำลายหายไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีชีวิตของฟันซี่นั้นไปด้วย การเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก หากเราทิ้งฟันคุดไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจมีการขยายใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นถุงน้ำ และในที่สุดอาจทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกในบริเวณนั้นได้ กระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบอบบางกว่าตำแหน่งอื่น ทำให้เมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกในบริเวณนั้นกระดูกขากรรไกรจะแตกหักเสียหายได้ง่ายกว่า หากคิดว่าตัวเองมีฟันคุดก็ควรพบคุณหมอเพื่อทำการ X-Ray ดูลักษณะของฟัน และวินิจฉัยว่าควรถอนออกหรือไม่ ถ้าปล่อยทิ้งไว้รอให้ปวดฟันคุดก่อนก็อาจจะสายเกินไป เพราะฟันคุดอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่ทำให้การรักษาบานปลายได้หลายอย่างเลยทีเดียว สนใจจัดฟันใส? สามารถประเมินฟันฟรี คลิกที่นี่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม - Facebook - Twitter